นิทรรศการ "กาลกลับ" ณ 100 ต้นสน แกลเลอรี่
Prateep Suthathongthai plays out his creativity through the process of shooting, sequencing and displaying negative and positive film with the maintenance of the original record of the films. Photography records actual existence. The artist displays these existences through the negative as well as positive without changing the sequence of his shooting and without touch up. The meticulous process requires some twenty rolls of film to result in each piece of work.
“I take photo and turn around, walk up and down, and go to the same place time after time to look for undiscovered angles”, says Prateep.
The artist works on this new series as a continuation from his previous negative film works which focused more on temples and Thai architecture. The new series include modern day construction, amphitheatre in larger scale with a display of large format slides on light box.
ประทีป สุธาทองไทย (หม่อม) หรือ อาจารย์หม่อม ม.มหาสารคาม แสดงผลงานภาพถ่าย ที่ 100 ต้นสนแกลเลอรี่ ระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม ถึง 28 มิถุนายน 2552 ภาพถ่ายของเขาผ่านการคิดคำนวณและวางแผน และการทำงานที่ต้องใช้สมาธิอย่างสูง การบันทึกภาพถ่ายบนสไลด์คล้ายกับการพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ดีด ความผิดพลาดเพียงหนึ่งจุดจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทั้งหมดของภาพ ภาพที่บันทึกมาถูกจับมาวางสลับกลับหัวกลับหาง โดยใช้เส้นของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมมาเชื่อมต่อกัน ทำให้อาคารหรือโรงละครร้างที่ถูกบันทึกเกิดเป็นโครงสร้างหรือรูปทรงใหม่
ในผลงานชุดใหม่นี้ ประทีปมีกระบวนการทำงานที่ผูกพันกับสถานที่ เขากล่าวไว้ว่า "ผมบันทึกภาพและมองไปรอบๆ เดินขึ้นขึ้นลงลง และไปที่สถานที่เดิมซ้ำซ้ำเพื่อค้นหาและค้นพบมุมใหม่ๆ"
ผลงานในนิทรรศการครั้งนี้เป็นผลงานที่ต่อเนื่องจากชุดที่แล้ว ในส่วนของการใช้ฟิล์มเนกาทีฟบันทึกมุมมองของวัดวาอารามและสถาปัตยกรรมไทย และถ่ายทอดสิ่งปลูกสร้างยุคใหม่ อัฒจันทร์ในรูปแบบของฟิล์มสไลด์บนกล่องไฟ ภาพถ่ายถูกนำมาใช้เป็นสื่อในการถ่ายทอดความคิดในการทำงาน ประทีปไม่ได้ถูกควบคุมด้วยกลไกของกล้องถ่ายภาพ ในทางกลับกันเขาขยายกรอบและขอบเขตของเฟรมแต่ละช่องให้เชื่อมต่อเป็นโครงสร้างอันเดียวกัน ดังนั้นผลงานของเขาหนึ่งชิ้นเกิดจากการก่อตัวรวมกันของภาพถ่ายจำนวนมาก ประโยคที่ว่า "ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดพันคำ" คงมิสามารถใช้ในที่นี่ได้