Home / 93 / 94 / 95 / 96 / 97 / 98 / 99 / 00 / 01 / 02 / 03 / 04 / 05 / 06 / 07 / 08 / 09 / 10 / 11 / 12 / 13

Paik/Kang




Nam June Paik, The More, the better, 1987, 1003 TV monitors, 1800 cm(ht.), National Museum of Contemporary Art, Korea.
Ik-Joong Kang, Multiple/Dialougue, 2009, National Museum of Contemporary Art, Korea.

เพ็ก นัม จุง (Num June Paik) คือชื่อที่คนเกาหลีเรียก โดยเอานามสกุลขึ้นก่อนแล้วจึงตามด้วยชื่อ แต่ถ้าเป็นคนอเมริกัน ญี่ปุ่นหรือเยอรมัน จะอ่านออกเสียงว่า นัม จุง ไพท์ ศิลปินเกิดและเติบโตที่เกาหลีใต้ ต่อมาศึกษาดนตรีเอกเปียโนที่ประเทศญี่ปุ่น และศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรีที่ประเทศเยอรมัน เพ็กได้พบปะและรู้จักกับศิลปินหัวก้าวหน้าชาวเยอรมันกลุ่มหนึ่ง นั่นก็คือกลุ่มฟลัคซัส เขาเริ่มมีชื่อเสียงจากการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มฟลัคซุส (Fluxus) ในประเทศเยอรมัน ก่อนที่ชื่อเสียงจะขจรขจายไปยังประเทศต่างๆในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา ก่อนหน้านี้ เขาไม่ได้รับการยอมรับในวงการศิลปะของเกาหลีใต้ ภายหลังเพ็กเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกัน

เพ็ก (1932-2006) เกิดในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยตอนช่วงประเทศเกาหลีตกอยู่ในอาณานิคมของญี่ป่น ในสมัยที่เขาเป็นหนุ่ม เขามีเครื่องเล่นแผ่นเสียงเป็นของตนเอง ซึ่งในสมัยนั้นเครื่องเล่นแผ่นเสียงเป็นสินค้าที่มีราคาแพงมาก และต่อมาครอบครัวของเขาก็ซื้อรถยนต์ซึ่งเป็นสินค้าที่เศรษฐีเท่านั้นที่จะซื้อได้ การที่เขาได้เปิดหูเปิดตาหรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาเรียนรู้หรือ มีความสนใจในเทคโนโลยีเร็วกว่าคนทั่วๆไป ในสหรัฐอเมริกา ปี 1962 เพ็กเริ่มใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสร้างสรรค์ผลงาน

ปี 1984 ผลงานอินสตอลเลชั่น "Good Morning, Mr. Orwell" เป็นผลงานที่ทำให้เพ็กเป็นที่รู้จักในประเทศเกาหลี ต่อมาเมื่อเขามีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 1987 พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยแห่งชาติของประเทศเกาหลี ได้ออกแบบห้องนิทรรศการสำหรับแสดงผลงานชื่อ "The More, the Better" ซึ่งประกอบด้วยโทรทัศน์จำนวน 1,003 เครื่องโดยบริษัทซัมซุง Samsung หรือ ซัมซอง(ออกเสียงแบบเกาหลี) และบริษัทแดร์วู Daewoo ให้การสนับสนุนในส่วนของโทรทัศน์ทั้งหมด ผลงานชิ้นนี้สูงถึง 18 เมตร ทางพิพิธภัณฑ์จึงออกแบบห้องแสดงที่เป็น ทางเดินไต่ระดับวนเป็นรูปก้นหอย เพื่อจะได้สามารถดูผลงานชิ้นนี้ได้รอบด้านและในระดับต่างๆ

คัก อิก จุง (Kang Ik-joong) อุทิศผลงานชื่อ "Multiple/Dialogue" ให้แก่ครูของเขาที่มีชื่อว่า เพ็กนัมจุง งานอินสตอลเลชั่นชิ้นนี้ประกอบด้วยผลงานขนาด 3 x3 นิ้ว จำนวน 60,000 ชิ้น ติดตั้งบนกำแพงโค้ง ความยาวสองร้อยเมตร รอบๆผลงาน "The More, the Better" ของ เพ็กนัมจุง ผลงานชิ้นนี้สร้างขึ้น โดยศิลปินเองคนเดียว ไม่มีผู้ช่วย ใช้ระยะเวลาในการทำงานตั้งแต่ยุค 1980s จนถึงปี 2009

คัก อิก จุง เกิดเมื่อปี 1960 ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 เขานำเสนอประเด็นในเรื่องอัตลักษณ์
ความเป็นเกาหลีในดินแดนสหรัฐอเมริกา เขาได้รับคัดเลือกให้แสดงผลงานใน Venice Biennale ปี 1997 และ Gwangju Biennale ในปีเดียวกัน

The First Meeting


Twenty two artists are working in the two-storeyed national art studio, Goyang. However, not everyone resides in the studio. Some artists commute from Seoul to Goyang. Some artists are having solo or group exhibitions in Korea or other countries, some artists are on vacation. Some artists work during the nighttime and rest in the daytime. The chance for meeting all artists at one time is rather impossible.

As a consequence, I have to arrange the meeting and design the flier.
1/3 or seven artists take part in the meeting; German artist Markus Kiefer, Korean-American artist Sandra Eula Lee, Japanese artist Akihito Okunaka ,two Korean artists Kyung Chae and Ji Hee Kim and France based Korean artist Su Kim.

สตูดิโอศิลปะแห่งชาติ เมืองโกยาง ประกอบด้วยห้องทำงานสำหรับให้ศิลปินทำงานและพักอาศัยทั้งหมด ๒๒ ห้องภายในตึกสองชั้น
แต่มีเพียงศิลปินจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ใช้สตูดิโอเป็นทั้งห้องทำงานและห้องนอน ศิลปินส่วนหนึ่งมีบ้านอยู่ที่กรุงโซล จึงไปๆมาๆระหว่าง กรุงโซลและเมืองโกยาง ศิลปินส่วนหนึ่งกำลังจะแสดงผลงานในนิทรรศการเดี่ยวหรือนิทรรศการกลุ่มที่เกาหลีหรือที่ประเทศอื่น ศิลปินกลุ่มหนึ่งอยู่ในช่วงพักผ่อนหรือท่องเที่ยว ศิลปินบางคนใช้เวลาช่วงกลางคืนทำงานและหลับนอนตอนกลางวัน จึงเป็นการยากที่จะเจอศิลปินทุกคนพร้อมกัน
ผมจึงคิดว่าการประชุมอาจทำให้ศิลปินได้เจอกันและรู้จักกัน หลังจากขออนุญาตใช้ห้องและวีดิโอโปรเจคเตอร์จากผู้จัดการสตูดิโอ จึงออกแบบใบปลิวเพื่อติดประชาสัมพันธ์

ในวันเวลาที่นัดประชุม มีศิลปินเข้าร่วมเจ็ดคนหรือจำนวนหนึ่งในสามของศิลปินทั้งหมด ประกอบด้วย ศิลปินเยอรมัน มาคัส คีเฟอร์ สร้างผลงานในรูปแบบของวิดีโออาร์ต บันทึกเพอร์ฟอร์มมานส์ของตัวเขาเอง ศิลปินเกาหลี-อเมริกัน ซานดร้า ลี สร้างสรรค์งานจากประสบการณ์ของตนเองเช่น การทำงาน การย้ายบ้าน การเดินทาง ศิลปินญี่ปุ่น อะกิฮิโตะ โอคุนากะใช้อลูมิเนียมเส้นเดียวสานไปสานมาจนเกิดเป็นรูปทรงขนาดใหญ่ ศิลปินเกาหลี จิฮี คิม ใช้ศิลปะเป็นช่องทางไปสู่โลกจินตนาการ แทนความฝันของตน ที่ต้องการเป็นผู้หญิงที่เซ็กซี่และหุ่นดี เพราะโลกแห่งความเป็นจริงเธอมีอวัยวะบางส่วนของร่างกายที่แตกต่างจากคนปกติ ศิลปินเกาหลีอีกคน คีอัง เช เลือกใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์มาเป็นเครื่องมือบันทึกภาพสิ่งต่างๆ ซู คิม ศิลปินเกาหลีที่ใช้ชีวิตอยู่ที่ฝรั่งเศสมากว่าเก้าปี นำเสนอประติมากรรมชิ้นส่วนอวัยวะต่างๆในร่างกายของเธอในวัสดุต่างๆและผสมผสานตัวอักษรที่ใช้แทนค่าความทรงจำของเธอ บางครั้งผลงานศิลปะสะท้อนตัวตนที่แท้จริงของศิลปินได้มากกว่าบุคลิกและการแต่งตัวภายนอก

The Land




ทุกตารางเมตรของพื้นที่ในเมืองโกยางสามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้ ไร่นาและแปลงผักปลูกแทรกอยู่ริมทางเท้า หรืออยู่ชิดติดกับถนน จนไม่มีทางเท้าให้คนเดิน ต้องเดินกันตัวลีบติดริมทาง เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเฉี่ยวชนจากรถยนต์ ที่เกาหลีรถยนต์แล่นเร็วมาก คนเกาหลีค่อนข้างใจร้อนและเร่งรีบ

Every square meter of land is profitable in Goyang city, rice field and vegetable patches could be easily found on the sidewalks or next to the roads. There is no pedestrian walkway.

live in




เรียนรู้ หลับนอน พบปะพูดคุย ทำงาน รายการอาหาร ทำกับข้าว
สัญชาตญาณและประสบการณ์ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความสุขสบายต่อการดำรงชีพในสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นเคย การทดลองนำไปสู่ทั้งผลลัพธ์ที่พึงพอใจและไม่พึงพอใจ ถึงอย่างไรก็ตามการเรียนรู้บางครั้งต้องพึ่งพาการลงมือปฎิบัติและทดลอง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และความรู้

Mission






IASK (International Artists Studio Program Korea) Changdong & Goyang provides the artist-in residence programs run by the National Museum of Contemporary Art, Korea in order to encourage and support artistic creativity and to make contemporary Korean art known to the world, for more information visit the national art studio, Korea website (http://www.artstudio.or.kr/) Goyang Art studio situated in the small town while Changdong Art Studio located in the Seoul.

IASK (สตูดิโอศิลปะสำหรับศิลปินนานาชาติแห่งประเทศเกาหลี) โกยาง และ ชังดง ได้จัดโครงการศิลปินในพำนักเป็นประจำทุกปี โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนโดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยแห่งชาติ ประเทศเกาหลี เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของคนทำงานศิลปะ และเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยของเกาหลีให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.artstudio.or.kr/ สตูดิโอโกยางตั้งอยู่ในเมืองชนบทขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเมืองหลวงโซล ส่วนสตูดิโอชังดงตั้งอยู่ในเมืองหลวงโซล

limited time

"When a surgeon feels that his or her hands are not stable enough, they stop cutting into people's brains and teach instead"
- Lawrence Weiner

"เมื่อหมอผ่าตัดรู้สึกว่ามือของตนเองนั้นเริ่มไม่เที่ยงตรง เขาจะหยุดทำการผ่าตัดสมองให้แก่คนไข้ และเปลี่ยนอาชีพไปเป็นครูผู้สอนแทน"
- ลอเรนซ์ วีนเนอร์

นิทรรศการ adaptation ณ สมบัติเพิ่มพูนแกลเลอรี่


ถ่ายภาพ โดย รวิ แสงสุวอ
จากลำเต้ย ลำกลอน ลำซิ่ง สู่ลูกทุ่ง ในผลงานชุดใหม่ของนฤมล ปัดสำราญ (Naruemon Padsamran) ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่จะจัดแสดงร่วมกับ พงศ์ศิริ คิดดี และกติกา กระจายศรี ซิปโปร์ ณ ชั้น2 หอศิลป์สมบัติเพิ่มพูน (Sombat Permpoon Gallery) จ.กรุงเทพ ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2552
คัดเลือกโดยภัณฑารักษ์ ปนัดดา เลิศหัตถศิลป์ ภายใต้แนวคิดของงานว่า "นิทรรศการจากสามศิลปิน รุ่นใหม่ที่ดัดแปลงการสื่อสารถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ประเพณี และศาสนา ให้เข้ากับโลกของศิลปะ ร่วมสมัย"
นฤมล ปัดสำราญ ลูกสาวคณะหมอลำจากร้อยเอ็ด อดีตสารถีขับรถพาคณะหมอลำของพ่อไปทั่วทิศทั่วแดนแคว้นอีสาน นฤมลเลือกใช้ป้ายประชาสัมพันธ์คณะหมอลำเป็นวัสดุหลักในการสร้างสรรค์งานศิลปะตั้งแต่เธอยังเป็นนักศึกษาเอกจิตรกรรมชั้นปีที่ ๓ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.มหาสารคาม โดยเริ่มจากการนำป้ายมาประกอบเป็นรูปทรงของหางเครื่องสาวในรูปแบบของงานสื่อผสม ก่อนที่จะเริ่มหลุดออกจากกรอบสี่เหลี่ยมของเฟรมในชั้นปีที่๔ ผลงานเริ่มมีรูปทรงอิสระหลังจากนั้นในช่วงศิลปนิพนธ์ นฤมลได้เล็งเห็นถึงตัวอักษรภาษาไทย (font) ของป้ายหมอลำที่มีลักษระคล้ายสรีระของผู้หญิง เธอจึงใช้ส่วนโค้งส่วนเว้าของตัวอักษรเหล่านั้นมาสร้างเป็นรูปทรงของหางเครื่อง และใช้สีสันสะท้อนแสงที่เป็นรูปแบบเฉพาะของป้ายหมอลำมาวางในตำแหน่งต่างๆของผลงานเพื่อสื่อถึงจังหวะและทำนองซ้ำๆของดนตรีหมอลำประเภทต่างๆ

ในนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกในชีวิต นฤมลนำเครื่องดนตรีของพ่อมาผสมผสานกับป้ายประชาสัมพันธ์คณะหมอลำ กลายเป็นประติมากรรมยักย้ายส่ายสะโพก โยกแขนโยกขากลางห้องนิทรรศการชั้น ๔ ในหอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพกับนิทรรศการ ลูกทุ่ง ลูกทุ่ง ในโครงการศิลปกรรม Brand New 2008 เวลาที่ผู้ชมเดินเข้าไปในห้องแสดงผลงานแลดูคล้ายกับการเดินเข้าไปในเวทีเต้นรำหรือเวทีรำวง คนดูจะเดินวนไปรอบๆประติมากรรมที่ตั้งกระจัดกระจายตามจุดต่างๆของห้องนิทรรศการ ในช่วงปลายปีเดียวกัน นฤมลได้เข้าร่วมโครงการศิลปะนานาชาติสำหรับศิลปินผู้หญิง Womanifesto Residency 2008 ที่ไร่บุญบันดาล จังหวัดศรีสะเกษ

ในเดือนพฤษภาคม ปีต่อมานฤมลนำเสนอผลงานประติมากรรมบริเวณลานด้านหน้าของห้างสรรพสินค้า Central World กับโครงการ Bangkok Bananas แม้ว่าผลงานจะล้มพังพาบไปกับกระแสลมแรงจนกลายเป็นกองไม้ให้คนผ่านไปผ่านมาได้นั่งพักคลายเหนื่อยเมื่อยขา โดยไม่รู้ว่ากองไม้ที่นั่งทับอยู่นั้นเป็นงานศิลปะ นฤมลนำกองไม้นั้นมาซ่อมแซมประกอบขึ้นใหม่เป็นงานประติมากรรมอีกครั้ง ประสบการณ์แสดงงานครั้งนี้เป็นบทเรียนที่ดีสำหรับนฤมลที่ต้องใช้เวลาตั้งตัวสักพัก แม้ว่าหน้าตาของงานอาจจะไม่เหมือนเดิม แต่นิทรรศการครั้งต่อไปทั้งผลงานประติมากรรมและตัวนฤมลคงยืนหยัดด้วยฐานที่แข็งแรงขึ้น

Creative Periods

"An artist usually has two or three creative periods in his or her life, and among the works produced there are often only five or six that are determining. Afterwards, the artist embroiders on these works, arranges them, and remakes them, sometimes very well, but the number of determining works remains extremely limited...I must have made about a thousand works in my life, but I think they could be reduced to a very little number. The others are forced, so to speak: because of exhibits..."
-Christian Boltanski, Hans Ulrich Obrist Interviews Volume 1

"โดยทั่วๆไปแล้ว ในช่วงชีวิตของศิลปินหนึ่งคน จะมีช่วงเวลาที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ดีอยู่เพียงสองถึงสามช่วง และผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมา บ่อยครั้งที่มีเพียงแค่ห้าหรือหกชิ้นที่เป็นผลงานชิ้นเอก ในช่วงเวลาต่อมาหลังจากได้สร้างงานชิ้นเอก ศิลปินจะใช้เวลาในการพยายามเสริมเติมแต่งผลงานชิ้นเอกที่เคยสร้างขึ้น ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยการปรับแต่ง จำลองขึ้นมาใหม่ ซึ่งบางครั้งก็ได้ผลงานที่ดีมาก แต่เป็นการ ยากมากที่จะได้จำนวนของผลงานชิ้นเอกเพิ่มขึ้น ...ในชีวิตของผม ผมสร้างสรรค์ผลงานจำนวนกว่าพันชิ้น แต่ผลงานเหล่านี้เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้ว จะเหลือเพียงผลงานที่ดีจริงๆหรือผลงานชิ้นเอกเพียงจำนวนเล็กน้อย ส่วนผลงานที่เหลือนั้น ผมสร้างสรรค์มันขึ้นมาเพราะว่าต้องเข้าร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการ..."
- คริสเตียน บอลทันสกี้

นิทรรศการ "กาลกลับ" ณ 100 ต้นสน แกลเลอรี่


Prateep Suthathongthai plays out his creativity through the process of shooting, sequencing and displaying negative and positive film with the maintenance of the original record of the films. Photography records actual existence. The artist displays these existences through the negative as well as positive without changing the sequence of his shooting and without touch up. The meticulous process requires some twenty rolls of film to result in each piece of work.

“I take photo and turn around, walk up and down, and go to the same place time after time to look for undiscovered angles”, says Prateep.

The artist works on this new series as a continuation from his previous negative film works which focused more on temples and Thai architecture. The new series include modern day construction, amphitheatre in larger scale with a display of large format slides on light box.

ประทีป สุธาทองไทย (หม่อม) หรือ อาจารย์หม่อม ม.มหาสารคาม แสดงผลงานภาพถ่าย ที่ 100 ต้นสนแกลเลอรี่ ระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม ถึง 28 มิถุนายน 2552 ภาพถ่ายของเขาผ่านการคิดคำนวณและวางแผน และการทำงานที่ต้องใช้สมาธิอย่างสูง การบันทึกภาพถ่ายบนสไลด์คล้ายกับการพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ดีด ความผิดพลาดเพียงหนึ่งจุดจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทั้งหมดของภาพ ภาพที่บันทึกมาถูกจับมาวางสลับกลับหัวกลับหาง โดยใช้เส้นของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมมาเชื่อมต่อกัน ทำให้อาคารหรือโรงละครร้างที่ถูกบันทึกเกิดเป็นโครงสร้างหรือรูปทรงใหม่

ในผลงานชุดใหม่นี้ ประทีปมีกระบวนการทำงานที่ผูกพันกับสถานที่ เขากล่าวไว้ว่า "ผมบันทึกภาพและมองไปรอบๆ เดินขึ้นขึ้นลงลง และไปที่สถานที่เดิมซ้ำซ้ำเพื่อค้นหาและค้นพบมุมใหม่ๆ"

ผลงานในนิทรรศการครั้งนี้เป็นผลงานที่ต่อเนื่องจากชุดที่แล้ว ในส่วนของการใช้ฟิล์มเนกาทีฟบันทึกมุมมองของวัดวาอารามและสถาปัตยกรรมไทย และถ่ายทอดสิ่งปลูกสร้างยุคใหม่ อัฒจันทร์ในรูปแบบของฟิล์มสไลด์บนกล่องไฟ ภาพถ่ายถูกนำมาใช้เป็นสื่อในการถ่ายทอดความคิดในการทำงาน ประทีปไม่ได้ถูกควบคุมด้วยกลไกของกล้องถ่ายภาพ ในทางกลับกันเขาขยายกรอบและขอบเขตของเฟรมแต่ละช่องให้เชื่อมต่อเป็นโครงสร้างอันเดียวกัน ดังนั้นผลงานของเขาหนึ่งชิ้นเกิดจากการก่อตัวรวมกันของภาพถ่ายจำนวนมาก ประโยคที่ว่า "ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดพันคำ" คงมิสามารถใช้ในที่นี่ได้

a platform

" In the animal world, in the natural world, the stone
is a platform where animals rest and sit, stand and view;
it is a place where they have a better view of the landscape.
I think architecture has to be a kind of yielding stone."
- Gabriel Orozco

"ในโลกของสัตว์ ในธรรมชาติ ก้อนหินเป็นพื้นที่ที่สัตว์ต่างๆพักผ่อน นั่ง ยืน
และสอดส่อง มันเป็นสถานที่ที่พวกมันจะเห็นท้องทุ่งได้กว้างไกล
ผมคิดว่าสถาปัตยกรรมควรจะเป็นเช่นเดียวกันกับก้อนหิน"
-เกเบรียล โอรอสโค
Home / 93 / 94 / 95 / 96 / 97 / 98 / 99 / 00 / 01 / 02 / 03 / 04 / 05 / 06 / 07 / 08 / 09 / 10 / 11 / 12 / 13